ความหมาย และ ความสำคัญของภาษี

ความหมายของภาษี

    ภาษี หมายถึงเงินที่เรียกเก็บจากประชาชนเพื่อนำไปความเจริญรุ่งเรืองประเทศ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทคือ ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่เก็บจากประชาชนที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพและภาษีที่ได้จากการประกอบกิจการทางการค้า บริการ และอุตสาหกรรม และ ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่เก็บจากประชาชนเมื่อซื้อสินค้าและบริการต่างๆที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประชาชนทุกคนจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีเพราะผลของการเสียภาษีจะกลับมาตอบแทนประชาชนใน 2 ลักษณะ คือ นำไปปันออกเงินเดือนให้ข้าราชการเพื่อให้บริการประชาชนและใช้จ่ายเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ของสถานที่ราชการต่างๆ นำมาใช้ในการเพิ่มพูนประเทศ เช่น สร้างถนน สร้างโรงเรียน เป็นต้น ประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ภาษีที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมีอยู่มากมายหลายประเภท

แต่ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคล เหตุผลก็เนื่องมาจากมีความเกี่ยวข้องกับผู้ที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ ที่กิจการค้ายังไม่มีขนาดยิ่งใหญ่มากนัก จึงเข้าเกณฑ์ของภาษีทั้ง 2 ประเภทนี้มากที่สุด ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อยของภาษีทั้ง 2 ประเภทมีดังต่อไปนี้

– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาทั่วไป ตามที่นิติบัญญัติและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเจ้าของกิจการหรือธุรกิจอะไรก็ตามแต่ ที่มีตัวเองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว จะเข้าข่ายอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ โดยปกติจะทำการจัดเก็บเป็นรายปี โดยรายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆก็ตาม ผู้มีเงินได้ต้องนำไปยื่นแสดงบัญชีชื่อภาษีที่กำหนดในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป

– ภาษีเงินได้นิติบุคคล

คือ ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่ข้อกำหนดไว้ ซึ่งจะเรียกเก็บจากนิติบุคคล ที่มีความหมายถึงการรวมตัวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในการลงทะเบียนเพื่อจัดตั้งขึ้นกลุ่มขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจการค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในที่นี้หมายถึงห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ฯลฯ ด้วยเป็นต้น

ความสำคัญของภาษี

ลักษณะของภาษีที่ดี

  1. มีความเป็นธรรม พิจารณาจากความสามารถในการเสียภาษีของประชาชนและพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเนื่องจากการดูแลของรัฐบาล
  2. มีความแน่นอนและชัดเจน  ประชนมีความเข้าใจได้ง่าย และป้องกันไม่ให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
  3. มีความสะดวก วิธีการและเวลาในการเสียภาษีต้องคำนึงถึงความสะดวกของประชาชน
  4. มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายทั้งของผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษี
  5. มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ ต้องไม่กระทบต่อกลไกลตลาด
  6. อำนวยรายได้ เก็บภาษีได้ตามเป้าเพียงพอต่อการดำเนินงานของรัฐ
  7. มึความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงหรือเพิ่มลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

Leave a Comment