หลักทรัพย์อะไรบ้างที่สามารถค้ำประกันได้!

สินทรัพย์ค้ำประกัน หรือ Collaterals เป็นปัญหาหนักใจของ SME หลายๆ ราย เนื่องจาก SME ส่วนใหญ่ แม้มีผลประกอบการที่ดี มีประสบการณ์และความสามารถในการบริหารธุรกิจให้เติบโตไปได้ แต่ก็มักประสบปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับจัดหาแหล่งเงินทุน (Source of fund) ทางเลือกของผู้ประกอบการในการจัดหาแหล่งเงินทุนในปัจจุบันคือ ธนาคารพาณิชย์ ที่ส่วนมากมักมีเงื่อนไขที่ยากต่อความสามารถของ SME หลายๆ ราย บางครั้งทำให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีทางเลือก ต้องเลือกวิธีกู้ยืมเงินจากการกู้นอกระบบ (Loan shark) ที่มีอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่สูง และยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากภาครัฐอีกด้วยนั่นเอง

แม้แต่การกู้ยืมเงินจากนายทุนนอกระบบ สินทรัพย์ค้ำประกันก็ยังเป็นเงื่อนไขจำเป็นในการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อธุรกิจ แล้วนอกจากทรัพย์สินจำพวกอสังหาริมทรัพย์ (Immovable assets) เช่น ที่ดิน อาคาร ตลอดจน Movable Assets หรือ สังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ ยังมีทรัพย์สินอื่นๆ ที่ผู้ขออนุมัติเงินกู้สามารถยื่นเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับทางธนาคารได้ โดยวงเงินในการอนุมัติสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการก็จะถูกจำกัดตามมูลค่าของทรัพย์สิน (ราคาตลาด หรือ Market price) ที่นำมาค้ำประกัน โดยวิธีการคำนวนการให้วงเงินก็จะแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างของทรัพย์สินที่สามารถนำมาใช้ค้ำประกันเพื่อขออนุมัติสินเชื่อได้ที่ผู้อ่านอาจจะยังไม่ทราบ ได้แก่

  1. เงินฝากประเภทใดประเภทหนึ่งที่มีอยู่กับธนาคาร
  2. พันธบัตรรัฐบาล หรือเอกชน
  3. หน่วยลงทุนของกองทุนที่มีนโยบายลงทุนใน Bond หรือตั๋วเงินคลัง
  4. หลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ ตราสารหนี้
  5. สิทธิการเช่าที่เปลี่ยนมือได้
  6. เครื่องจักร
  7. สินค้าคงเหลือ
  8. ลูกหนี้การค้า (วงเงินแฟคตอริ่ง (Factoring))

อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผู้เขียนกล่าวไว้ข้างต้น เนื่องจาก SME ส่วนมากเติบโตมาจากผู้ประกอบการที่อาจจะไม่มีเงินทุนมากนัก การเริ่มต้นธุรกิจอาจมาจากการเช่าอาคาร หรือทรัพย์สินในการดำเนินกิจการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจ SME เหล่านั้นไร้ซึ่งศักยภาพในเชิงการทำธุรกิจแต่อย่างใด แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีผู้ประกอบการหลายๆ รายอาจประสบปัญหาหนักใจจากการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อขยายศักยภาพของธุรกิจจากภาคส่วนที่มีเงื่อนไขที่ยากต่อการเข้าถึงอยู่ก็เป็นได้ ใปัจจุบันการประเมิณความสามารถของผู้ประกอบการ SME ไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับทรัพย์สินที่ SME เป็นเจ้าของอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยี (Technology) และนวัตกรรม (Innovation) ทางการเงินที่ก้าวหน้า ประกอบกับกฎหมายการเข้าถึงข้อมูลทางการเงินของกฎหมายส่งเสริมการประกอบธุรกิจและการเข้าถึงบริการของประชาชนด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ฟินเทค (Fintech) ทำให้ผู้ให้เกิดผู้ให้บริการใหม่นำนวัตกรรมทางการเงินและข้อกฎหมายที่สนับสนุนและคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ กำเนิดนวัตกรรมการกู้ยืมเงินรูปแบบใหม่ ที่ช่วยประหยัดเวลาในการขออนุมัติสินเชื่อกู้ยืมเพื่อธุรกิจได้ ทั้งยังสะดวก ผู้กู้ไม่ต้องใช้สินทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อและยังมีเงื่อนไขที่น้อยกว่าสถาบันการเงินขนาดใหญ่ โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมฟินเทค (Fintech) เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพให้การกู้ยืมเงินตลอดจนการลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยแพลทฟอร์มการกู้ยืมเงินแบบนี้มีชื่อว่า Peer-2-Business Lending (P2B) หรือ Peer-to-Peer Lending (P2P) นั่นเอง ซึ่งแพลทฟอร์มการกู้ยืมเงินนี้ มีความสามารถอย่างหนึ่งที่จะช่วยผู้กู้นั่นก็คือ การไม่ต้องใช้สินทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ ตลอดจนการขอสินเชื่อบุคคลนั่นเอง โดยด้านภาครัฐก็มองเห็นความจำเป็นของเครื่องมือทางการเงินนวัตกรรม Fintech นี้ ทำให้ในอีกไม่นาน กฎหมายที่จะทำให้ Peer-to-Business Lending Platform สามารถให้บริการได้เร็วๆ นี้

Leave a Comment